วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ลักษณะค่านิยมของสังคมไทย

ลักษณะค่านิยมของสังคมไทยในปัจจุบัน สภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ตามสภาพสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา มีการติดต่อค้าขาย สัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศ มีทุนให้ครู-อาจารย์ ไปดูงานต่างประเทศ การช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีแก่สถาบันการศึกษา ทำให้มีการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ค่านิยมตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลไปตามสภาพของสังคมด้วยดังนี้
๑. ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับในอดีต มีการศึกษาพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้ง ตลอดจนมีการปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์ข้อบังคับของสงฆ์ ประชาชนมีบทบาทตรวจสอบพฤติกรรมทางวินัยสงฆ์ได้ เพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากพระพุทธศาสนา
๒. เคารพเทิดทูลสถาบันพระมหากษัตริย์ สังคมไทยต่างกับสังคมชาติอื่น กษัตริย์ไทยเปรียบเสมือนสมมติเทพ คอยดูแลทุกข์สุขของประชาชน ทำนุบำรุงประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองในทุกๆด้าน จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจพระองค์เป็นทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตคนไทย เป็นที่เคารพเทิดทูนของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง
๓. เชื่อในเรื่องเหตุผล ความเป็นจริง และความถูกต้องมากขึ้นกว่าในอดีต ในสภาวะของเหตุการณ์ต่างๆ ปัจจุบันสังคมไทยรู้จักคิดใช้ปัญญามีเหตุผลมากขึ้น เช่น ได้ออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้งครองเจ้าของความคิด ไม่ให้ใครลอกเลียนแบบได้ เรียกว่า “ ลิขสิทธิ์ทางปัญญา ” เป็นต้น
๔. ค่านิยมในการศึกษาหาความรู้ ปัจจุบันสังคมไทยต้องแข่งขันกันตลอดเวลา การจะพาตนเองให้รอดจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถที่โดดเด่นจึงเป็นสิ่งที่คนไทยในสังคมปัจจุบันต้องเสาะแสวงหา
๕. นิยมความร่ำรวยและมีเกียรติ สังคมไทยในปัจจุบันให้ความสำคัญเรืองความร่ำรวยและเงินทอง เพราะมีความเชื่อที่ว่าเงินทองสามารถบันดาลความสุขตอบสนองความต้องการของคนได้

๖. มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยทุกคนกล้าตัดสินใจและกล้าแสดงออกทางความคิดและการกระทำ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้
๗. ชอบแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ลักษณะกลัวการเสียเปรียบ กลัวสู้เพื่อนไม่ได้ เพื่อการอยู่รอดจึงต้องทำการแย่งชิงแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเอง
๘. นิยมการบริโภค นิยมบริโภคของแพง เลียบแบบอย่างตะวันตก รักความสะดวกสบาย ใช้จ่ายเกินตัวเป็นการนำไปสู่การมีหนี้สินมากขึ้น
๙. ต้องทำงานแข่งกับเวลา ทุกวันนี้คนล้นงาน จึงต้องรู้จักกำหนดเวลา การแบ่งแยกเวลาในการทำงาน การเดินทางและการพักผ่อนให้ชัดเจน
๑o. ชอบอิสระไม่ชอบอยู่ภายใต้อำนาจของใคร ไม่ชอบการมีเจ้านายหลายคน ในการทำงานมักประกอบอาชีพอิสระ เปิดกิจการเป็นของตนเอง
๑๑. ต้องการสิทธิความเสมอภาคระหว่างหญิงกับชายเท่าเทียมกัน หญิงไทยในปัจจุบันจะมีความคล่องแคล่ว สามารถบริหารงานไดเช่นเดียวกับผู้ชายเป็นที่พึ่งของครอบครัวได้ ภรรยาจึงไม่ใช่ช้างเท้าหลังอีกต่อไป
๑๒. นิยมการทดลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน ซึ่งเป็นการเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตก ที่มีความเจริญทางวัตถุมากกว่าจิตใจ ผู้ใหญ่ควรทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน เหมาะสมกับศีลธรรมจรรยา
๑๓. นิยมภาษาต่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นมาก เพราะต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ๆ ตำราหรืออินเตอร์เน็ตมีความจำเป็น ต้องมีความรู้ทางภาษาต่างประเทศ หากไม่มีก็ยากต่อการศึกษาและนำไปใช้

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สาเหตุของปัญหาสังคมทั่วๆไป

สาเหตุของปัญหาสังคมทั่วๆ ไป

จากการศึกษาสาเหตุของปัญหาสังคมของนักสังคมวิทยาหลายท่านปรกฏว่าผู้ศึกษาได้เสนอสาเหตุปัญหาสังคมไว้คล้าย ๆ กัน ซึ่งพอสรุปสาเหตุใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
·       การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
·       ความไม่เป็นระเบียบของสังคม
·       พฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคม
·       การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change)
ความหมายการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามความเห็นของ Davis เขากล่าวว่า หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในการจัดระเบียบโครงสร้างหน้าที่ของสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของสังคม คือ ในกลุ่มหรือองค์การทางสังคมแต่ละกลุ่ม องค์การทาทสังคมหรือโครงสร้างของสังคมเลยนั้น คือ เปลี่ยนแปลงจากความสัมพันธ์ระหว่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปจนถึงความสัมพันธ์ในกลุ่มทั้งสังคมเลยที่เดียว ดังนั้นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่จะก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญดังนี้
1.             การเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง
2.             การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม
3.             การเพิ่มประชากร
4.             การอพยพ
5.             การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี
6.             การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ย่อมก่อให้เกิดปัญหา
7.             การเปลี่ยนบรรทัดฐานของสังคม

ความไม่เป็นระเบียบของสังคมกับปัญหาสังคม

ความไม่เป็นระเบียบของสังคม หมายถึง ภาวะที่สังคมหรือสถาบันพื้นฐานทางสังคม ไม่สามารถจะควบคุมสมาชิกของสังคมให้ปฏิบัติตามระเบียบ ชึ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่สำคัญมี 5 ประการด้วยกันคือ
1.             ความล้มเหลวของกลุ่มจารีตประเพณีหรือสถาบันพื้นฐาน
2.             ผลประโยชน์ของกลุ่มชนขัดกัน
3.             หน้าที่ตามสถานภาพและบทบาทที่ขัดแย้งกัน
4.             ความผิดพลาดในการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแผนของสังคม สถาบันหรือหน้าที่
ความขัดแย้งระหว่างกฏเกณฑ์กับความมุ่งหวัง กกเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สังคมกำหนดไว้ ให้ประชาชนในสังคมปฏิบัติตาม

สภาพปัญหาสังคม


สภาพปัญหาสังคม


จากความสำเร็จของการพัฒนาในช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมาครั้นถึงพ.ศ. ๒๕๔๐ สิ่งที่ควบคู่มา กับความสำเร็จกลับกลายเป็นปัญหาที่สะสมพอกพูนตามมาและ เพิ่มมากยิ่งขึ้น

ขณะนี้กลายเป็นปัญหาอันใหญ่ของสังคมไทยยุคโลกภิวัตน์ ปัญหาอันยิ่งใหญ่ตาม คือ ปัญหาด้านสังคม จนอาจสรุปเป็นข้อความสั้น ๆ แต่น่าคิดอย่างยิ่งว่า
"เศรษฐกิจก้าวหน้า สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน"


ยิ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจให้ก้าวหน้ามากเท่าใด และความเจริญด้านวัตถุมีมากเท่าใดสภาพด้านจิตใจกลับเสื่อมลง จิตใจคนสับสน ว้าเหว่ คนขาดที่พึ่งทางใจครอบครัวที่เคยเข้มแข็งกลับอ่อนแอ แตกแยก ชุมชน หมู่บ้าน ที่เคยเข้มแข็งก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน


ประเด็นปัญหาสังคมที่สำคัญสรุปสั้น ๆ ดังนี้

๑. ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางด้านวัตถุ แต่เกิดความเสื่อมทางด้านจิตใจ ค่านิยมและสังคมคนไทยประพฤติปฏิบัติที่แสดงถึงความเสื่อมทางจิตใจอย่างเห็นได้ชัดเจนหลายประการ เช่น นิยมวัตถุ นิยมความหรูหราฟุ่มเฟือย ยกย่องคนรวย โดยไม่คำนึงถึงว่าจะร่ำรวยมาได้โดยวิธีใด เกิดการแข่งขันเอารัดเอาเปรียบ ไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม การเบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบนี้นอกจากจะเบียดเบียนกันเองแล้ว ยังเบียดเบียนรุกรานธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ที่ดิน ป่าไม้ แม่น้ำ สภาพธรรมชาติ ถูกรุกราน ยึดครอง ถูกทำลาย สภาพน้ำเน่าเสีย สภาพคนจนอยู่ใน สลัมท่ามกลางตึกสูงอันหรูหราใหญ่โต สภาพความยากจนแร้นแค้นของคนในชนบท และสภาพเสื่อมโทรมทางสังคม อันเกิดจากความเสื่อมทางจิตใจมีมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากปัญหายาเสพติด โสเภณี โรคเอดส์และปัญหาอื่น ๆรวมถึงการละเลยด้านศาสนา และประเพณีเป็นต้น
๒. ปัญหาอื่น ๆ ที่สืบเนื่องจากความเสื่อมทางด้านจิตใจและค่านิยม คือ

๒.๑ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงอย่างมากและอย่างรวดเร็ว
๒.๒ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนมีมากยิ่งขึ้น คนรวยมีเพียงจำนวนเล็กน้อย แต่เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติมากมาย ทำให้คนจนส่วนใหญ่ที่จนอยู่แล้วกลับยิ่งยากจนลงไปกว่าเดิมอีก
๒.๓ ความเจริญกระจุกอยู่แต่ในเมืองไม่ได้กระจายออกไป ทำให้คนชนบทอพยพเข้าสู่เมืองเกิดปัญหาตามมาทั้งในชนบทและในเมือง
๒.๔ระบบราชการขาดประสิทธิภาพ เพราะปรับสภาพไม่ทันกับปัญหาสังคมที่ซับซ้อนในเมืองหลวงและในชนบท
๒.๕คนไทยส่วนใหญ่พื้นฐานการศึกษายังน้อย ปรับตัวไม่ทันเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้ามาสู่ประเทศไทยโดยเฉพาะเรื่องข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นต้น
๓.วิกฤตการณ์ทางการเมือง หมายถึง ระบบการเมืองของ ไทยอันเป็นแบบแผน ของสังคมในการปกครองประเทศ และดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ขณะนี้การเมืองไทยมีปัญหาถึง ๘ ประการ คือ

๓.๑ ใช้เงินเป็นใหญ่
๓.๒มีการผูกขาดการเมืองโดยคนจำนวนน้อย
๓.๓ คนดีมีความสามารถเข้าไปสู่การเมืองได้ยาก
๓.๔ การทุจริตประพฤติมิชอบมีอยู่ในทุกระดับ
๓.๕ การเผด็จการโดยระบอบรัฐสภา
๓.๖ การต่อสู้ขัดแย้งเรื้อรังและความไร้เสถียรภาพทางการเมือง
๓.๗ การขาดประสิทธิภาพทางการบริหารและนิติบัญญัติ
๓.๘ การขาดสภาวะผู้นำทางการเมือง

๔. วิกฤตการณ์ในระบบราชการ หมายถึง ระบบราชการอันเป็นเครื่องมือปัญหาสังคมไทยกลับกลายเป็นปัญหาเสียเอง เช่น ปัญหาความเสื่อมศักดิ์ศรีของระบบราชการ ทำให้คนดีคนเก่งหนีระบบราชการ ปัญหาคอรัปชั่นในวงราชการปัญหาคุณธรรม เป็นต้น
๕.วิกฤตการณ์ของการศึกษา หมายถึง การศึกษาของไทยอัน เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาของสังคมไทยกลายเป็นตัวปัญหาเสียเอง เช่นการเรียนแบบท่องจำเนื้อหาไม่ทันต่อความรู้ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ปัญหาการแก่งแย่งแข่งขัน ปัญหาระบบการศึกษา การบริหาร การกระจายโอกาสการศึกษา รวมถึงการศึกษาของสงฆ์ก็มีปัญหาด้วยประมวลสรุป

สภาพปัญหาของเยาวชนไทย
ถ้ามองถึงปัญหาของเยาวชนไทยจะต้องยอมรับเสียก่อนว่าเยาวชนไทยส่วนใหญ่เป็นคนดี เป็นพลเมืองดีของชาติ แต่ผู้ใหญ่คาดหวังจะให้เขาเป็นคนดียิ่งขึ้นไปอีกและมีเยาวชนอีกจำนวนหนึ่งมีปัญหา ซึ่งคำว่าจำนวนหนึ่งนี้เมื่อเทียบกับเยาวชนทั้งประเทศ เยาวชนที่มีปัญหาก็นับจำนวนเป็นล้านทีเดียว
จากลักษณะของเยาวชนไทยที่มีจำนวนมากเช่นนี้ หากจะทำความเข้าใจและให้ความสนใจเยาวชน ก็ควรเข้าใจว่าเยาวชนแยกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ซึ่งแบ่งแยกตามลักษณะสังคมอยู่แล้ว คือ

๑. กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในสถานศึกษา โรงเรียนเริ่มตั้งแ ต่นักเรียนชั้นมัธยมเรื่อยไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย เยาวชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นคนดี ใฝ่ศึกษาหาความรู้ มีความรู้ สนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวและสนใจเรื่องราวทั้งที่อยู่ใกล้ตัว ไกลตัว รวมไปถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป็นกลุ่มที่มีกิจกรรรมและความสนใจหลากหลาย

๒. กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในชุมชน ในหมู่บ้านหนึ่งหรือชุมชนหนึ่ง จะมีเยาวชนอยู่จำนวนไม่น้อยทีเดียว เยาวชนเหล่านี้จะมีลักษณะที่หลากหลายปะปนกัน เยาวชนจำนวนหนึ่งออกไปทำงานนอกบ้านแล้วกลับมาตอนเย็น บางกลุ่มทำงานช่วยพ่อแม่อยู่บ้าน บางกลุ่มอยู่บ้านเฉย ๆ บางกลุ่มก็เข้ามาอยู่ในชุมชนอย่างแอบแฝง ดังนั้นเยาวชนกลุ่มนี้จึงมีลักษณะหลากหลาย มีตั้งแต่เยาวชนผู้นำรวมกลุ่มทำกิจกรรมให้แก่สังคมอย่างเข้มแข็ง เป็นกำลังสำคัญของหมู่บ้านรองจากผู้ใหญ่รวมไปถึง พวกอยู่เฉย ๆ กินเหล้าเมายา ลักเล็กขโมยน้อย รวมไปถึงติดยาเสพติด และเรื่องอื่น ๆ ด้วย

๓. กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในสถานประกอบการ เยาวชนกลุ่มนี้มีตั้งแต่เด็กที่เพิ่งจบชั้นประถมปีที่ ๖ แล้วก็ เข้าไปรับจ้างขายแรงงาน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเยาวชนวัยกำลังหนุ่มสาว อายุระหว่าง ๑๘ ปี ไปจนถึง ๒๕ ปี ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชนเต็มตัว คนวัยหนุ่มสาวนี้จะไปทำงานรวมตัวกันอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ หรือเมืองอุตสาหกรรม เช่น กรุงเทพ ฯ ระยอง อยุธยา นครราชสีมา เป็นต้น เยาวชนดังกล่าวพื้นฐานความรู้ส่วนใหญ่จบแค่ ป. ๖ ต้องจากบ้านที่คุ้นเคยกับชีวิตชนบท แบบชาวไร่ชาวนามาใช้ชีวิตแบบอุตสาหกรรม ต้องทำงานตรงตามเวลาเข้าทำงาน เวลาเลิกงาน ได้ค่าจ้างที่ไม่มากทำงานหนัก ต้องทำงานนอกเวลาเพิ่มเพื่อให้ได้เงินมากขึ้น อาหารการกินจำกัด ที่อยู่คับแคบ เวลาพักผ่อนน้อย ว่างเพียงวันอาทิตย์วันเดียว จะรีบออกไปเที่ยวพักผ่อนตามศูนย์การค้าหรือสวนสาธารณะ มีปัญหาทางจิตใจ ปัญหาทางเพศ จับคู่อยู่กันแบบผัวเมียเร็ว มีลูก เกิดปัญหา เกิดการแตกแยก รวมถึงเรื่องปัญหายาเสพติด เป็นต้น

๔. เยาวชนในวัด กลุ่มนี้มีทั้งสามเณร รวมไปถึงเด็กวัดและคนอาศัยวัดอยู่ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน บวชเณรเพื่อหนีความยากจนและเบื่อเรียนหนังสือ ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนผู้ใฝ่ดี แต่ขาดแคลนทุกอย่าง มีความเหงาว้าเหว่ทางใจ โดยเฉพาะเด็กวัด การขาดหรือความไม่เท่าเทียมคนอื่นทำให้ขาด ความมั่นใจ หรือมิฉะนั้นก็จะหันไปในทางที่ผิด
ปัญหาเยาวชนแยกได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ
๑. ปัญหาร่วม หมายถึง ปัญหาที่มีอยู่แล้ว สังคมสร้างปัญหา ผู้ใหญ่สร้างปัญหาเยาวชนอยู่ในสังคมก็ได้รับปัญหานั้น ซึ่งจะโทษเยาวชนคงไม่ได้ ปัญหาร่วมที่สำคัญจะยกตัวอย่างให้เห็น ดังนี้
๑.๑ ปัญหาเรื่องบุหรี่ เหล้า การพนัน การกินเหล้า สูบบุหรี่ เล่นการพนัน เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่สร้างขึ้นมาทำขึ้นมา และผู้ใหญ่ก็ปฏิบัติกันอยู่แล้ว เยาวชนเห็นตัวอย่างก็กิน สูบและเสพเหมือนผู้ใหญ่
๑.๒ ปัญหาแหล่งบันเทิง ผับ บาร์ ดิสโก้เธค สถานอาบ อบ นวด ซ่อง สิ่งเหล่านี้มีทั่วไปในสังคมไทย แม้บางอย่างกฎหมายกำหนดไว้ในทางปฏิบัติก็มีการปล่อยให้เยาวชนเข้าเสพได้อย่างเสรี
๑.๓ ปัญหาเรื่องภาพยนต์โป๊ หนังสือโป๊ หรือเรื่องโป๊เปลือยร่างกาย เรื่องทางเพศดังกล่าว เยาวชนเข้าถึงได้โดยไม่มีข้อจำกัด เช่นเดียวกับผู้ใหญ่
๑.๔ ปัญหายาเสพติด ยาบ้า ยาอี เฮโรอีน และอื่น ๆ สิ่งเสพติดดังกล่าวมีอยู่แล้วในสังคมและผู้ใหญ่ก็เสพอยู่แล้ว เยาวชนก็ทำได้เช่นกัน
๑.๕ ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ การโกงกิน คอรัปชั่นของนักการเมือง พ่อค้า ข้าราชการ รวมไปถึงเรื่องการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบสังคม สิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ทั่วไป เยาวชนย่อมทำตามและสร้างปัญหาเช่นเดียวกับผู้ใหญ่
๒. ปัญหาเฉพาะของเยาวชน ปัญหาเฉพาะดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ แก่เยาวชนอีกมาก ลักษณะของปัญหาเกิดจากลักษณะเฉพาะของความเป็นเยาวชนนั่นเอง ซึ่งกล่าวแต่เพียงประเด็นสำคัญพอเป็น แนวพิจารณา ดังนี้
๒.๑ ปัญหาเฉพาะของเยาวชนอันเกิดจากความอยากรู้ อยากเห็น อยากทดลอง ปัญหาอยากต่าง ๆ ที่กล่าวนี้เป็นต้นเหตุของปัญหาอื่น ๆ เช่น อยากทดลองเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ทดลองเป็นคู่นอนกัน ทดลองขับรถแข่งกัน ยังมีการอยากทดลองขับแข่งรถ ยังมีการอยากการทดลองอย่างอื่นอีกมาก ล้วนให้เกิดปัญหาตามมาทั้งสิ้น
๒.๒ ปัญหาตามเพื่อนหรือปัญหาติดกลุ่ม ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่ทำตามเพื่อนเป็นใหญ่จึงเกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น เพื่อนเข้าบาร์ก็เข้าด้วย เพื่อนใส่กระโปรงสั้นก็ใส่ด้วย เพื่อนร้องเพลงฝรั่งก็ร้องด้วยเพื่อนกินไก่เค้นตักกี้ กินพิซ่า ก็ทำตามด้วย ยิ่งไปกว่านั้นเพื่อน ๆ ไม่เข้าวัดก็ไม่เข้าด้วย
๒.๓ ปัญหาความว้าเหว่ ความเหงา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของวัยรุ่น เหงาเพราะขาดเพื่อนไม่ได้ มีอะไรไม่เท่าเพื่อน ทำให้ไม่พอใจในฐานะตัวเอง เกลียดพ่อแม่พาลหนีออกจากบ้านไปเข้ากลุ่มเพื่อน เหงาหรือว้าเหว่เพราะไม่มั่นใจในตัวเองก็ออกแสวงหาความมั่นใจทั้งในทางที่ถูกและทางที่ผิด ใครห้ามก็ไม่ฟังทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมาอีกมากมาย
๒.๔ ปัญหาการขาดการอบรมกล่อมเกลาขาดความใกล้ชิดสนิทสนม ทั้งจากครอบครัวทั้งจากสังคมแวดล้อม จากสังคม เช่น สนามกีฬาที่ออกกำลังกายไม่มี ที่พักผ่อนหย่อนใจไม่มี ที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามความสนใจไม่มี โดยเฉพาะเมืองใหญ่ ๆไม่มีสิ่งเหล่านี้
ด้านครอบครัวเช่น พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูก ไม่เคยใกล้ชิดลูก ไม่เคยแนะนำกล่อมเกลาหรือเป็นตัวอย่างที่ดี เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานของการขาดความสัมพันธ์สืบเนื่องกัน ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นการสืบทอดความคิด ความเชื่อ ประเพณี แนวปฏิบัติต่อตนเองและสังคม การขาดทั้งสองเรื่องดังกล่าวทำให้เยาวชนสร้างปัญหาให้ตัวเองและสังคม เพราะเยาวชนเป็นวัยที่กำลังใฝ่หาแบบอย่างจากผู้ใหญ่และจากสังคม
จุดอ่อน จุดแข็ง ของเยาวชนไทยในยุคโลกาภิวัตน์
๑. จุดแข็งของเยาวชนไทย
๑.๑ เป็นคนมีเหตุผล ความมีเหตุผลนี้จะทำให้พฤติกรรมกล้าถาม กล้าตอบ กล้าโต้เถียง ซึ่งผู้ใหญ่จะมองว่าหัวแข็ง ไม่มีสัมมาคารวะ แต่ ลักษณะมีเหตุมีผลนี้เป็นคุณสมบัติที่เหมาะกับโลก ปัจจุบัน อันเป็นยุคโฆษณา
๑.๒ เป็นตัวของตัวเอง ความเป็นตัวของตัวเองคืออยากทำอะไรก็ทำที่ตัวเองเห็นว่าดีถูกต้อง เช่น การยืน การพูด ถกเถียง การแต่งตัว แม้แต่การเข้าไปในวัด คุยกับพระ หากผู้ใหญ่ไม่เข้าใจความเป็นตัวของวัยรุ่นก็จะตำหนิหรือหาว่าไม่มีมารยาท ไม่มีสัมมาคารวะ
๑.๓ ความกล้า ความสนใจกว้างกว่า การก้าวทันวิทยาการใหม่ ๆ วัยรุ่นเป็นคนรุ่นใหม่จะกล้ามากกว่าเดิม กล้าเรียน กล้าทำงาน กล้าเป็นนักร้อง กล้าเป็นนางแบบ รู้เรื่องคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนท รู้ความเคลื่อนไหว ความเป็นไปต่าง ๆ ของสังคม และโลก ทั้งที่ใกล้และไกลตัว
๒. จุดอ่อนของเยาวชนไทย

๒.๑ ความอ่อนแอในเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบไทยอันเนื่องมาจากชีวิตครอบครัว ลักษณะสังคมไทยเปลี่ยนไปมาก พ่อแม่ไม่มีเวลาสั่งสอนอบรมลูกน้อยลง เยาวชนเข้าเรียนหนังสือในชีวิตอยู่ในโรงเรียนตั้งแต่วัยเยาว์ โรงเรียนไม่สามารถอบรมกล่อมเกลาเยาวชนในด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิตได้เท่าเทียมกับพ่อแม่และชุมชน หรือจะกล่าวง่าย ๆ คือ วัด บ้าน โรงเรียน แยกส่วนกันไม่เป็นสังคมที่กลมกลืนกัน การหล่อหลอม อบรม สืบทอดวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบไทยก็อ่อนด้อยไป ยิ่งเยาวชนที่อยู่ในวัยทำงานต้องจากครอบครัวไปอยู่ต่างถิ่น อยู่ในสังคมโรงเรียน ยิ่งเกิดการแตกแยก ทั้งทางด้านจิตใจและการดำเนินชีวิต ความอ่อนแอในทางวัฒนธรรมทำให้ขาดจุดยืน ขาดความมั่นใจ ขาดการใคร่ครวญและรับหรือไม่รับสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบได้ง่าย เกิดความสับสนในการดำเนินชีวิตแบบไทยที่เหมาะสมถึงสภาพปัจจุบัน เยาวชนจำนวนไม่น้อยเห่อเหิม ฟุ่มเฟือย หนักไม่เอาเบาไม่สู้ หลงวัตถุ หลงเงินตรา ก่อปัญหาให้ตัวเองและสังคม
๒.๒ ความว้าเหว่ เปล่าเปลี่ยว สับสนวุ่นวายทาง สภาพครอบครัว สภาพสังคมที่สับสน สภาพการแข่งขัน สภาพชิงดีชิงเด่น เอารัดเอาเปรียบ ทำให้จิตใจของเยาวชนจำนวนไม่น้อยเกิดความสับสนวุ่นวาย ยิ่งวัยรุ่นเป็นวัยที่ติดเพื่อนพลอยทำให้ตัดสินใจอะไรพลาดพลั้งได้ง่าย ยิ่งประเภทพ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูกหรือครอบครัวมีปัญหา ครอบครัวแตกแยก หรือการออกไปทำงานต่างถิ่นยิ่งเสี่ยงต่อการตัดสินใจในทางที่ผิดก่อปัญหาต่อตัวเองและสังคม

จุดอ่อนของเยาวชนทั้ง ๒ ข้อ เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุด ก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาที่น่าสังเกต ก็คือ เป็นเรื่องของจิตใจอันเป็นผลให้คนดำเนินชีวิตไปทั้งในทางชั่วและทางดี เรื่องการนำและอบรมทางใจนี้ พระสงฆ์ย่อมมีบทบาทสูงสุดอย่างไม่ต้องสงสัย
สิ่งที่เยาวชนสับสนและอยากได้คำตอบมากที่สุด
๑. ความจริงของชีวิต เกิดมาทำไม ความจริงของโลก จักรวาล คืออะไร
๒. อะไรคือความชั่ว อะไรคือความดี คนทำชั่วทำไมจึงได้ดี ทำไมจึงมีเกียรติ ทำไมจึงร่ำรวย คนทำดีทำไมจึงยากจน คนซื่อสัตย์สุจริตทำไมจึงถูกโกง ถูกเอารัดเอาเปรียบ
๓. ค่านิยมที่ดีคืออะไร คนที่เรียบร้อย อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนทำไมเพื่อนจึงกล่าวหาว่าหัวอ่อน, คนที่เปลือยผ้าถ่ายรูป มีรายได้สูง มีคนนิยมชมชอบ เป็นค่านิยมที่ดีหรือไม่ , คนที่คดโกงมีความร่ำรวย มีอิทธิพล ได้เป็นรัฐมนตรีปกครองคน เป็นผู้นำประเทศ เป็นค่านิยมที่ดีหรือเลว เหล่านี้เป็นคำถามในใจเยาวชน
๔. วิกฤตการณ์ด้านจิตใจ อันหมายถึง ความสับสนยุ่งเหยิงทางใจที่เป็นข้อขัดแย้ง เป็นคำถามในใจของเยาวชนตลอดเวลา เช่น ทำไม ตุ๊ด ดี้ จึงดังในจอทีวี คนนิยมชมชอบ ทำไมตำราจ ทางหลวงจึงเก็บส่วยจากรถบรรทุก สร้างความร่ำรวยให้ตัวเองได้ ทำไมผู้ใหญ่รณรงค์ให้เยาวชนรักษาความสะอาด ฟุตบาทจึงเต็มไปด้วยแผงขายอาหาร ขายของสกปรกจนไม่มีที่เดิน ทำไมคนหนุ่มสาวผู้ใช้แรงงานจึงถูกเอาเปรียบค่าแรง แล้วทำไมจึงให้ต่างชาติเข้าเมืองผิดกฎหมาย มาขายแรงงานราคาถูกไม่ถูกจับ คำว่าทำไม ๆ ๆ ๆ เยาวชนนี้มีมากมาย เกิดวิกฤตทางจิตใจตลอดเวลา

สาเหตุหลักของสภาพปัญหาสังคมไทย

สภาพปัญหาเยาวชนไทยยุคโลกาภิวัตน์ทั้งหลายทั้งปวงมาจากความสับสนวุ่นวายทางจิตใจ จิตใจเยาวชน ไม่มั่นคง
ไม่มีอะไรเป็นเครื่องยึดมั่น องค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง เช่นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีนโยบายในการแก้ปัญหาก็จริง แต่ขาดการปฏิบัติต่อเนื่อง และจริงจัง

ดังนั้นองค์กรทางศาสนา หลักธรรมคำสอน และพระสงฆ์เท่านั้น จะเป็นผู้สร้าง ผู้ชี้ทางและเป็นผู้นำทางทางจิตใจของ
เยาวชนไทย เป็นผู้อธิบายค่านิยมที่ถูกต้อง ผู้อธิบาย ความดี ความชั่ว ความจริงของโลกและความสุขอันแท้จริงของชีวิต
เป็นผู้ชี้นำความสว่าง ความสงบ ทั้งแก่เยาวชน และแก่คนไทยทุกคนให้พบแต่ความสุขความเจริญ แต่นั่นก็หมายถึงว่า
พระสงฆ์เองก็ต้องพัฒนาตนเอง ให้อยู่ในสภาวะที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคม แก้ปัญหาสังคม ไม่เป็นปัญหาสังคมเสียเอง