วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สาเหตุของปัญหาสังคมทั่วๆไป

สาเหตุของปัญหาสังคมทั่วๆ ไป

จากการศึกษาสาเหตุของปัญหาสังคมของนักสังคมวิทยาหลายท่านปรกฏว่าผู้ศึกษาได้เสนอสาเหตุปัญหาสังคมไว้คล้าย ๆ กัน ซึ่งพอสรุปสาเหตุใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
·       การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
·       ความไม่เป็นระเบียบของสังคม
·       พฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคม
·       การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change)
ความหมายการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามความเห็นของ Davis เขากล่าวว่า หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในการจัดระเบียบโครงสร้างหน้าที่ของสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของสังคม คือ ในกลุ่มหรือองค์การทางสังคมแต่ละกลุ่ม องค์การทาทสังคมหรือโครงสร้างของสังคมเลยนั้น คือ เปลี่ยนแปลงจากความสัมพันธ์ระหว่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปจนถึงความสัมพันธ์ในกลุ่มทั้งสังคมเลยที่เดียว ดังนั้นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่จะก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญดังนี้
1.             การเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง
2.             การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม
3.             การเพิ่มประชากร
4.             การอพยพ
5.             การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี
6.             การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ย่อมก่อให้เกิดปัญหา
7.             การเปลี่ยนบรรทัดฐานของสังคม

ความไม่เป็นระเบียบของสังคมกับปัญหาสังคม

ความไม่เป็นระเบียบของสังคม หมายถึง ภาวะที่สังคมหรือสถาบันพื้นฐานทางสังคม ไม่สามารถจะควบคุมสมาชิกของสังคมให้ปฏิบัติตามระเบียบ ชึ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่สำคัญมี 5 ประการด้วยกันคือ
1.             ความล้มเหลวของกลุ่มจารีตประเพณีหรือสถาบันพื้นฐาน
2.             ผลประโยชน์ของกลุ่มชนขัดกัน
3.             หน้าที่ตามสถานภาพและบทบาทที่ขัดแย้งกัน
4.             ความผิดพลาดในการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแผนของสังคม สถาบันหรือหน้าที่
ความขัดแย้งระหว่างกฏเกณฑ์กับความมุ่งหวัง กกเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สังคมกำหนดไว้ ให้ประชาชนในสังคมปฏิบัติตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น